15.5.51

ปลูกผักดาดฟ้าบ้าน




ทุกวันนี้เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลงทุกวัน เงินกลายเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตที่ขาดไม่ได้ ผู้คนต่างพยายามทำทุกวิถีทางให้ได้มาซึ่งเงินตรา จนไม่คำนึงว่าสิ่งที่ได้กระทำนั้นส่งผลอย่างไรต่อคนอื่นๆ ในสังคมอย่างที่โฆษณาชุดหนึ่งได้สะท้อนผ่านเด็กขี้บ่น ว่าลูกชิ้นใส่แป้งอะไรๆก็ใส่แป้งอาหารที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ นอกจากจะแพงแล้วยังด้อยคุณภาพและเต็มไปด้วยสารพิษมากมายผักผลไม้นั้นอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารแต่เสียดายที่เต็มไปด้วยสารพิษทางการเกษตรกะนั้นเรามาปลูกผักทานเองกันเถอะ นอกจากจะได้ทานผักสดสะอาดปลอดสารพิษ แปลงผักในบ้านของคุณยังช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แปลงผักสวนครัวจะช่วยคุณประหยัด เศรษฐกิจครัวเรือนของคุณที่จะดีขึ้นแน่นอน ถ้าปลูกได้มากเกินจะทานไหวยังจะขายได้อีกด้วย (ผักปลอดสารพิษนะแพงอย่าบอกใครเชียวนะ ) งานดูแลผักสวนครัวเป็นกิจกรรมยามว่างที่คุณและครอบครัวจะได้ทำร่วมกัน คุณพ่อปลูก คุณลูกรดน้ำ คุณแม่เก็บมาทำกับข้าวทานร่วมกัน ครอบครัวอบอุ่น ห่างไกลยาเสพติดและคุณแม่บ้านจะได้คำชมทุกวันว่าทำอาหารอร่อย สวนครัวของคุณจัดให้สวย ในยามว่างจะได้นั่งชมสวนสีเขียวเย็นตา เย็นใจ และเย็นกายด้วยนะ สวนจะทำให้บ้านคุณเย็นขึ้น อากาศก็จะสะอาดสดชื่น และถ้าทุกคนร่วมกันจัดสวนครัวที่บ้าน กรุงเทพของเราก็จะเย็นกาย เย็นใจ และสบายปอดขึ้น

การดำเนินการสวนเกษตรดาดฟ้า



การเตรียมปลูกพันธ์พืช

1. การเตรียมดิน
1.1 ผสมดินร่วนปนทรายกับขยะอินทรีย์ที่มีความโปร่ง(ขยะทางการเกษตร
เช่น กาบมะพร้าว ใบไม้ เศษไม้ป่น แกลบ)
1.2 ราดด้วยน้ำผสมกากน้ำตาลและจุลินทรีย์ EM ให้ชุ่ม
1.3 หมักคลุมดินไว้ให้จุลินทรีย์ย่อยสลายเศษซากขยะอินทรีย์จนร่วนซุย

2. การเตรียมแปลงปลูก
2.1 ใช้ไม้กั้นเป็นแปลงทำขอบสูงขึ้นเล็กน้อย แปลงกว้างประมาณ 1.5 เมตร
ยาวประมาณ 4 เมตร เว้นทางเดิน ระหว่างแปลงประมาณ 50 เซนติเมตร
2.2 ใช้กระสอบปูพื้นและใช้กาบมะพร้าวหรือผักตบชวารองพื้น
2.3 ใช้ดินผสมกับปุ๋ยจุลินทรีย์จากขยะสด เศษวัสดุที่ย่อยสลายจากการทำปุ๋ย
น้ำชีวภาพ กาบมะพร้าว ใบฉำฉาอื่น ๆ โดยใช้ดิน 1 ส่วนผสมวัสดุต่าง ๆ
2 ส่วน ที่หมักเตรียมไว้
2.4 ตากดินก่อนเตรียมแปลงปลูก
2.5 ปรับแปลงให้เรียบเสมอ

การปลูก

1. หยอดเมล็ดลงในแปลงโดยตรง
2. เพาะกล้าก่อนย้ายปลูกโดยเพาะในถาดพลาสติกซึ่งมีช่องเล็ก ๆ ใช้ขุย
มะพร้าว, แกลบเผา,ปุ๋ยหมัก, และดินผสมกันอย่างละ 1 ส่วน
3. เมื่อย้ายผักลงแปลงใหม่ ๆ ให้ใช้วัสดุพรางแสง และปูฟางเพื่อเก็บรักษา
ความชื้นแต่ควรระวังการเกิดโรคราด้วย

การใส่ปุ๋ย

1.เตรียมแปลงใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์จากขยะสดเศษวัสดุที่ย่อยสลายจากการทำ
ปุ๋ยน้ำชีวภาพผสมกับดินปลูก
2. ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 500 ส่วน รดน้ำพืชผัก
3. ผักบางอย่างที่กินผล เมื่อเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ยที่มี ฟอสฟอรัส โปรแตสเซี่ยม
เพิ่มขึ้น เช่น 15-15-15 หรือ 13-13-21 ปุ๋ยน้ำชีวภาพ | ปุ๋ยอัดเม็ด

1. ใช้บัวรดน้ำต้นไม้
2. วิธีต่อสายยางรดน้ำต้นไม้โดยผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ส่วนต่อน้ำ 500 ส่วน
ผสมใส่ถังบรรจุขนาด ประมาณ 120 ลิตร บนดาดฟ้าจำนวน 8 ถัง แล้วต่อ
สายยางลงมารดน้ำต้นไม้
3. รดน้ำด้วยระบบสปริงเกอร์และตั้งเวลาการทำงาน

แมลงศัตรูพืช

1. ใช้กับดักกาวเหนียว โดยใช้พลาสติกสีเหลือง ทากาวเหนียวไว้ดักแมลง
2. การใช้สารสกัดจากสะเดา โดยใช้เมล็ดสะเดา บดแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วนำน้ำ
ที่แช่ประมาณ 2-3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
3. ใช้สารสกัดจากยาฉุน โดยใช้ยาฉุนประมาณ 100 กรัม น้ำมาณ 1 ลิตร
แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำน้ำที่แช่ประมาณ 2-3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นตามความเหมาะสม
4. ปลูกผักที่มีกลิ่นไล่แมลง เช่น โหรพา กระเพรา ตะไคร้
5. กำจัดโดยใช้มือจับทำลาย

โรคพืช

1. ตัดแต่งใบแก่ ด้านล่างของลำต้นออก ให้อากาศถ่ายเท
2. เด็ดใบที่เป็นโรค เพื่อลดการแพร่เชื้อโรค
3. รักษาความสะอาดแปลงปลูก โดยกำจัดวัชพืช
4. ปลูกพืชชนิดต่างๆ หมุนเวียนกัน

เคล็ดลับสวนครัวลอยฟ้า

1. ความแข็งแรงของอาคาร อาคารที่ทำสวนเกษตร ดาดฟ้าควรมีความแข็งแรงและมีระบบระบายน้ำที่ดีพอ
2. ความร้อนของพื้นปูน เนื่องจากในเวลากลางวันพื้นปูนได้รับความร้อนมากและแผ่กระจายความร้อนไปยังพืช
ได้ วิธีแก้ไขคือใช้วัสดุปูพื้นเพื่อกันความร้อนเช่น กระสอบ พร้อมทั้งใช้กาบมะพร้าวปูทับอีกชั้น หรือใช้วัสดุ
มีขายกกระถางหรือกระบะให้ลอยเหนือพื้น
3. แรงลม บริเวณดาดฟ้าจะเป็นที่โล่งและมีลมแรงประกอบการการปลูกผักใช้วัสดุน้อย ทำให้พืชผักที่มีระบบ
รากลึกล้มได้ เช่น ข้าวโพด เป็นต้น จึงควรทำไม้หลัก หรือเชือกพยุงลำต้น หรือใช้วิธีปลูกพืชบังลมเพื่อลด
ความแรงของลม เช่น มะละกอ แค หรือปลูกพืชไม้เลื้อยขึ้นค้างเชือกตาข่าย เช่น มะระ เสาวรส ฯ
บริเวณดาดฟ้า เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีศักยภาพสูงในการจัดสวนครัว โดยเฉพาะอาคารแถวในเมืองที่ไม่มีพื้นดิน
ปลูกพืช ปัญหาเรื่องพื้นดินจะหมดไป ด้วยการใช้ภาชนะแบบต่างๆ ในการปลูก แต่ก็มีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงด้วย
เช่นกัน สวนบนดาดฟ้าจะเน้นสวนแบบลอยตัว คือใช้โครงสร้างลอยตัว น้ำหนักเบา และเคลื่อนย้ายง่าย ปัญหา
ที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ ความแรงของลม และการระบายน้ำ การทำสวนบนดาดฟ้าควรต้องปลูกพืชบน
กระบะหรือกระถาง
ตำแหน่งควรเลือกบริเวณที่อับลมที่สุดเท่าที่จะหาได้ โดยมากดาดฟ้ามักมีระเบียงกันตกที่สูงมากโดยรอบ
(สูงประมาณ 1.10 ม.) มีทั้งแบบทึบและแบบโปร่ง ถ้าเป็นแบบทึบการวางกระบะไว้หลังกำแพงเลยอาจไม่ใช่
ตำแหน่งที่อับลมที่สุด เพราะบริเวณนี้จะมีลมตีย้อนกลับได้ ควรเลือกบริเวณที่มีกำแพงอาคารเป็นตัวกำบังลม
มากกว่า ส่วนดาดฟ้าที่มีระเบียงกันตกโปร่งจะมีลมพัดแรงมาก นอกจากจะต้องตำแหน่งที่อับลมที่สุดแล้ว
กระบะหรือกระถางขนาดเล็กจำเป็นต้องยึดกับพื้นให้มั่นคง โดยอาจยึดด้วยสลิง โดยเฉพาะกระบะที่ปลูกต้นไม้
สูง หรือที่ยึดติดกับค้างสูง และควรเลือกต้นไม้ที่ปลูกไม่ให้สูงมากจนเกินไปเพื่อไม่ให้ลมดีจนเอน

http://203.155.220.217/laksi/garden/main_laksi.php

ไม่มีความคิดเห็น: