คำอธิบายเทคโนโลยี
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ประสบความสำร็จพัฒนา “เครื่องผลิตน้ำมะขามเข้มข้น” ประสิทธิภาพเยี่ยมผลิตน้ำมะขามพร้อมปรุง คุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดระดับสากล พร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทยก้าวไกลในตลาดโลก
ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. ประสบความสำเร็จในการพัฒนา “เครื่องผลิตน้ำมะขามเข้มข้น” ให้กับบริษัท บี บี ฟูดส์ โปรดิวซ์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านการผลิตน้ำมะขามพร้อมปรุง ส่งออกจำหน่ายไปยังสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป เครื่องดังกล่าวฯ มีประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมะขามเข้มข้นถึง 600 ลิตรต่อชั่วโมงทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ได้จากที่ผ่านจากเครื่องผลิตน้ำมะขามเข้มข้น จะมีความสะอาด ถูกสุขอนามัย และได้มาตรฐานสากล นับเป็นนวัตกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอาหารไทยให้ก้าวไกลในตลาดโลก
เครื่องผลิตน้ำมะขามเข้มข้น เป็นนวัตกรรมต่อยอดที่ วว. พัฒนาจากเครื่องแยกกากน้ำมะขาม โดยได้ออกแบบ พัฒนา และปรับปรุง ให้เครื่องฯ มีประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องให้มีมากขึ้นกว่าเดิมถึง 50 % และมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการผลิตจากเครื่องฯ ยังมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ วว.รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนในการสนันสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทยให้แข่งขันได้ในตลาดโลก
ตัวเครื่องผลิตน้ำมะขามเข้มข้น ประกอบจากวัสดุภายในประเทศทั้งหมด มีกำลังการผลิตประมาณ 600 ลิตรต่อชั่วโมง เครื่องมีขนาด 110 x 115 x 120 เซ็นติเมตร3 (กว้าง*ยาว*สูง) ใช้มอเตอร์ขนาด 3-5 แรงม้า โครงสร้างทั้งหมดทำด้วยสแตนเลสเกรดใช้กับงานอาหาร
โดยมีหลักการทำงานของเครื่อง อาศัยหลักการแยกน้ำมะขามออกจาก กาก เปลือกและเม็ด ผ่านการกรอง 2 ระดับ คือ การกรองหยาบและกรองละเอียด
โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
เมื่อนำน้ำมะขามที่ผ่านการละลายกวนผสมกับน้ำร้อนแล้ว ใส่ถังสำหรับป้อนวัตถุดิบของชุดกรองหยาบ จากนั้นน้ำมะขามจะไหล่ผ่านเข้าไปยังชุดกรองหยาบ ส่วนที่ไม่สามารถผ่านตะแกรงมาได้ ก็จะถูกกวาดโดยใบกวาดไปยังที่ปล่อยกาก สำหรับส่วนที่ถูกบีบผ่านชุดกรองหยาบแล้ว จะถูกส่งผ่านท่อส่งเพื่อไหลต่อไปยังถังสำหรับป้อนวัตถุดิบของชุดกรองละเอียด เพื่อเข้าไปยังชุดกรองละเอียดอีกครั้ง โดยน้ำมะขามที่ถูกบีบผ่านชุดกรองละเอียดแล้ว จะถูกส่งออกไปยังภาชนะรองรับที่จะเก็บน้ำมะขามเพื่อการใช้งานต่อไป โดยน้ำมะขามที่ได้จะเป็นน้ำมะขามที่ปราศจากการปะปนของกาก เปลือก และเม็ด สะอาด ถูกสุขลักษณะ และได้มาตรฐานสากล
ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำไปผลิตเป็นน้ำมะขามพร้อมปรุง น้ำมะขามพร้อมดื่ม หรือซอสปรุงรสจากมะขาม นอกจากนี้เครื่องฯ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวัตถุดิบอื่นๆได้หลากหลายชนิด อาทิ องุ่น มะม่วง มะเขือเทศ สำหรับผลิตเป็นน้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสสำเร็จรูป หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. โทร. 0 2577 9000 , 0 2577 9133 ในวันและเวลาราชการ หรือที่ E-mail : tistr@tistr.or.th
แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/food/00000-851.html
29.5.51
เครื่องผลิตน้ำมะขามเข้มข้น
เขียนโดย
GMan572
ที่
11:15
0
ความคิดเห็น
การผลิตน้ำหวาน(Syrup) กล้วยเข้มข้น(Production Process of Syrup from Banana
กล้วยเป็นผลไม้เขตร้อนชื้น ที่ปลูกง่าย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Musa sp. ผลของกล้วยมีคุณค่าทางอาหารต่อมนุษย์มาก เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ มีโปตัสเซียมสูงและวิตามินโดยเฉพาะ วิตามินซี วิตามินอี บี1 บี2 บี3 บี6 และ บี12 นอกจากนั้นยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็น(Essential amino acid) ที่สำคัญ เช่น Tyrosine, Phenylalanine และ Tryptophan ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายในด้านการสร้างสารเคมีสำหรับการส่งผ่านคลื่อนสมอง(Neuro-transmission)
น้ำหวานกล้วยเข้มข้น ผลิตโดยนำน้ำกล้วยมาผ่านกระบวนการกรองใสแบบอัลตรา(Ultrafiltration) แล้วจึงผ่านกระบวนการทำระเหยแบบสูญญากาศที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อให้ได้น้ำหวานกล้วยเข้มข้นโดยยังคงประโยชน์ของสารอาหารและวิตามินไว้ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์พลอยได้อีกหลายอย่าง เช่น น้ำส้มสายชูกล้วย, ซอสพริกกล้วย, ไวน์กล้วย และเครื่องดื่มให้พลังงานจากกล้วย
กล้วยมีสารประกอบโพลีฟีนอล(Polyphenol) ซึ่จะทำปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศโดยการกระตุ้นของเอนไซม์โพลีนอลออกซิเดส(Polyphenol oxidase) ที่มีอยู่ในธรรมชาติในกล้วยเอง ทำให้เกิดสารสีน้ำตาล (Browning effect) ที่เรียกว่า Melanin ดังนั้นการทำน้ำหวานเข้มข้นจากกล้วย หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จำเป้นต้องแก้ปัญหาการเกิดสีน้ำตาลดังกล่าว ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับค่า pH ให้ไม่เกิน 4.5 ด้วยกรดซิตริค(Ctric acid) หรือกรดแอสคอร์บิค(Ascorbic acid) เพื่อลดประสิทธิภาพของเอนไซม์โพลินิลออกซิเดส และเติมสารยัลยั้ง(Inhibitor) การเกิดปฏิกริยาต่อเนื่องกับอกซิเจน สารยับยั้งหรือแอนตี้ออกซิแดนท์ที่เลือกใช้เป็น ไบโอโพลิเมอร์แอนตี้ออกซิแดนท์
คุณสมบัติ
มีความใส สีเหลืองเหมือนน้ำผึ้ง มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70 Brix
สามารถรักษาคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้สูงสุด
สามารถนำไปใช้ต่อในเชิงอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้
มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
ขยายและพัฒนาต่อเนื่องได้ เพื่อสร้าง/ขยายแนวของผลิตภัณฑ์ (Product Line) ในอนาคต
ประโยชน์
น้ำผลไม้จากกล้วยสามารถนำไปปรับความเข้มข้น โดยการเจือจางด้วยน้ำบริสุทธิ์ให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสมในการดื่มเป็น Banana juice(10-15% Brix) และอาจนำไปปรุงแต่งรสและกลิ่น และ/หรือนำไปผสมน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มอย่างอื่น
ไซรับกล้วยสามารถนำไปใช้เป็นหัวเชื้อน้ำเชื่อมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ผสมไอศกรีม ใช้ในเบเกอรี่ ใช้ผสมเครื่องดื่มทั้งที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮล์
ที่มา : มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/food/00000-331.html
เขียนโดย
GMan572
ที่
11:12
0
ความคิดเห็น