บล็อกประสาน วท. คือ บล็อกที่ วท. ออกแบบและพัฒนาให้มี ลักษณะพิเศษ เพื่อการใช้งานอย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ในการนำไปใช้งานโดยมีรูร่องและเดือยบนตัวบล็อกที่สามารถก่อประสาน กันทั้งแนวนอนและแนวดิ่งได้โดยไม่ต้องใช้ปูนก่อ หรือก่อทีละก้อนเหมือน บล็อกแบบดั้งเดิมและสามารถนำมาวางซ้อนกันตลอดความยาวของผนังสูง ครั้งละประมาณ 10 แถว แล้วใช้น้ำปูนทรายหยอดลงในรูของบล็อก ทำให้ ก่อสร้างได้สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ช่างฝีมือในการก่อสร้าง จึงเรียกบล็อก แบบนี้ว่า “บล็อกประสาน วท.”
วัสดุที่ใช้ผลิตบล็อก
มีให้เลือกใช้หลายชนิดตามแต่จะหาได้ เช่น
1. ดินปนทรายสีแดง ซึ่งมีเนื้อละเอียด ไม่มีเม็ด นำมาร่อนก่อน ผสมซีเมนต์
2. ดินลูกรังแดงมีเม็ดหินปน นิยมใช้ทำถนนนำมาบดผ่านตะแกรง ขนาดไม่เกิน 4 มม.
3. หินฝุ่น ซึ่งใช้ทำคอนกรีตบล็อก ควรบด-ร่อนก่อน
4. หินชนวนผุนำมาบดผ่านตะแกรง 4 มม.
5. เศษศิลาแลงนำมาบดผ่านตะแกรง 4 มม.
วิธีการผลิตบล็อกประสาน วท.
1. นำดินมาผึ่งให้แห้ง นำไปร่อนหรือบด
2. ผสมปูนซีเมนต์:ดิน ในอัตราส่วน 1:7 หรือ 1:8
3. พรมน้ำพอชื้นคลุกเคล้าจนทั่ว
4. นำไปอัดด้วยเครื่องใช้แรงคน หรือเครื่องไฮดรอลิก
5. บ่มในที่ร่ม 14 วัน จึงนำไปใช้งานได้
ในปัจจุบัน วท. ได้ผลิตบล็อกประสานออกมาเป็น 2 แบบ เพื่อให้ เหมาะกับการใช้งาน
1. บล็อกตรงหรือทรงสี่เหลี่ยมใช้สำหรับก่อสร้างอาคาร
บล็อกเต็มก้อน 12.5 x 25 x 10 ซม.
ขนาดครึ่งก้อน 12.5 x 12.5 x 10 ซม.
2. บล็อกโค้งใช้สำหรับก่อสร้างถังเก็บน้ำ
ขนาด 15 x 30 x 10 ซม.
เครื่องอัดบล็อกประสาน
- เครื่องอัดด้วยแรงคน
1. เป็นเครื่องอัดด้วยแรงคนแบบมือโยก
2. สามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ก่อสร้างได้สะดวก
3. การใช้งานและบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก
4. สามารถผลิตได้วันละประมาณ 400-800 ก้อน ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงงานและความชำนาญ
- เครื่องอัดไฮดรอลิก
เป็นเครื่องอัดแบบอุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือในระดับ หมู่บ้าน โดยพัฒนาจากเครื่องอัดมือโยกมาเป็นเครื่องอัดไฮดรอลิก
- สามารถผลิตได้วันละประมาณ 1,000-1,300 ก้อน
- อัดได้ทีละ 2 ก้อน
เครื่องอัดบล็อกตรงสำหรับก่อสร้างอาคาร
เครื่องอัดบล็อกโค้งสำหรับถังเก็บน้ำ
ขั้นตอนการทำบล็อกประสาน วท.
หลังจากกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมของดินที่จะใช้ในการทำบล็อก ประสาน วท. ในห้องปฏิบัติการได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการอัดบล็อก หาก ดินเป็นก้อนควรผ่านการบดก่อนนำไปร่อน ผ่านตะแกรงขนาด 4 มม. หรือ เล็กกว่า ถ้าดินมีความชื้นมากควรนำไปตากให้แห้ง ก่อนนำมาผสมกับ ซีเมนต์เพื่อให้คลุกเคล้าได้สม่ำเสมอ การผสมควรผสมแห้งก่อนแล้วค่อย เติมน้ำ น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด ใช้ผสมในระหว่างการคลุกเคล้าดินและ ซีเมนต์ในปริมาณที่พอเหมาะ ปกติจะใช้น้ำประมาณ 10% (โดยปริมาตร) หลังจากนั้นนำดินที่ผสมแล้วเข้าเครื่องอัด การอัดควรอัดในทันทีที่ผสม เสร็จเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ บล็อกประสาน วท. ที่อัดเป็นก้อนแล้ว ควรกองเก็บและบ่มในที่ร่ม
การบ่ม
หลังจากนำบล็อกออกจากเครื่องอัดแล้ว 12 ชั่วโมง ให้บ่มโดยใช้น้ำ พรมหรือราดให้ชุ่มติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน เมื่อพ้น 3 วันแล้ว ให้นำไปวาง ซ้อนกันบนพื้นที่เรียบ คลุมด้วยแฝกฟางหรือใบไม้จนมีอายุครบอย่างน้อย 14 วัน จึงนำไปใช้งานได้ ถ้าจะให้ได้กำลังสูงสุด ควรบ่มต่อไปจนครบ 28 วัน
การก่อสร้างอาคารด้วยบล็อกประสาน
วท. อาคารชั้นเดียว
1. ขุดดินเทฐานหรือคาน คสล. ตามแนวผนังที่จะก่อ
2. นำบล็อกวางเรียง เพื่อวัดความกว้างยาวของอาคาร ปรับระยะ ให้พอดีกับขนาดของบล็อก โดยเพิ่มทีละก้อนหรือครึ่งก้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดบล็อก
3. ก่อบล็อกแถวแรกด้วยปูนทราย เพื่อทำระดับผิวหน้าให้เท่ากัน ใช้ปูนทรายปรับระดับ (ปูนซีเมนต์:ทราย = 1:3 โดยปริมาตร)
4. วางทับซ้อนกันครั้งละประมาณ 10 แถว จึงหยอดน้ำปูนผสม ทรายละเอียดที่มีลักษณะเป็นครีมเหลวลงในรูบล็อกทุกรูให้เต็ม สำหรับ บริเวณที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น บริเวณมุมห้อง เสาหรือจุดที่ รับโครงหลังคา ควรเสริมเหล็ก 6 มม. ไว้เพื่อยึดอะเส หรือโครงหลังคา
5. เมื่อก่อครบจำนวนแถว (ประมาณ 30 แถว) จึงวางอะเส วาง โครงหลังคามุงหลังคาซึ่งปกติจะใช้โครงเหล็ก ไม้ หรือคอนกรีต
วิธีผสมปูนหยอด
1. ร่อนทรายละเอียดผสมปูนซีเมนต์ อัตราส่วน 1:3 โดยปริมาตร
2. ผสมน้ำจนเหลวเป็นครีม
3. ใส่ถังฝักบัวที่ถอดหัวฝักบัวออกและหยอดน้ำปูนในรูบล็อกให้ เต็มทุกรูอย่าให้ล้น ก่อนหยอดควรกรอกน้ำลงในรูทุกรูให้ชุ่ม
4. ทำความสะอาดผนังในจุดที่เปื้อนปูน โดยใช้น้ำล้างหรือฟองน้ำ ชุบน้ำเช็ดก่อนที่น้ำปูนจะแห้ง (ไม่เกิน 15 นาที)
5. ในกรณีที่น้ำปูนรั่ว ให้ใช้ทรายแห้งกำใส่มือหรือใช้ฟองน้ำชุบน้ำ บิดให้หมาด แล้วอุดบริเวณที่รั่วทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาที
ข้อดีของอาคารที่สร้างโดยบล็อกประสาน วท.
1. ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มีความแข็งแรง ทนทาน
2. ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ทั้งเสา ไม้แบบ และการฉาบ ปูน
3. ประหยัดราคาในการก่อสร้างโดยใช้แรงงานในท้องถิ่น
4. มีความสวยงามตามธรรมชาติ ไม่ต้องทาสี
5. สร้างงานและอาชีพเสริมให้แก่ประชาชนในชนบท
6. ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยลดการตัดไม้ทำลาย
--------------------------------------------------------------------------------
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2577-9000
โทรสาร 0-2577-9009
196 พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0-2579-1121..30,0-2579-5515,0-2579-0160,0-2579-8533
โทรสาร. 0-2561-4771,0-2579-8533 เทเลกซ์. 21392 TISTR TH
เว็บไซด์ : http://www.tistr.or.th
E-mail: hotline@tistr.or.th
กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี
ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2246-0064 , 0-2640-9600
โทรสาร: 0-2246-8106
เว็บไซด์ : http://www.most.go.th
อีเมล์ : helpdesk@most.go.th
http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=76&i2=30
การทำบล็อกยางปูพื้น และยางขวางถนนจำกัดความเร็วด้วยยางพารา
คำอธิบายเทคโนโลยี
การทำผลิตภัณฑ์ยางปูพื้น และยางขวางถนนจากยางพารา
1. วัตถุดิบยางและสารเคมี : ยางพารา ยางรีเคลม แคลเซียมคาร์บอเนต ดินขาว ซิงก์ออกไซต์ กรดสเตียริก น้ำมันแนพธีนิก(napthenic pil), สารกันเสื่อม(antioxidant), Mercaptobenzothiazoldisulfide(MBTS), Diphenyl guanidine(DPG), กำมะถัน
2. เครื่องจักรและอุปกรณ์ : เครื่องชั่ง เครื่องบดผสมยางกับสารเคมี เครื่องอัดไฮดรอลิกพร้อมแผ่นความร้อน แบบพิมพ์
บล็อกยางปูพื้น และยางขวางถนนจำกัดความเร็วจากยางพารา ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการได้วิจัยและพัฒนาขึ้นนี้ มีรูปแบบ / สีสันสวยงาม ทนทาน ให้ความปลอดภัยในการใช้งานสูงเมื่อเปรียบเทียบกับบล็อกอิฐปูพื้น และวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้วางขวางถนนเพื่อจำกัดความเร็วรถยนต์ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตคือยางพาราประมาณ 90 % ยางรีเคลม ( ยางรถยนต์รีไซเคิล ) ประมาณ 30 % และแคลเซียมคาร์บอเนต (ผงหินอ่อน) ประมาณ 30 % ซึ่งเป็นวัตถุดิบภายในประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 10 % เป็นสารเคมีที่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้สนใจสามารถขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปผลิตในเชิงพาณิชย์ได้
คุณสมบัติเด่น
1. สวยงาม ปลอดภัย ติดตั้งง่าย ทนทาน ราคาไม่แพง แข่งขันได้
2. ใช้วัตถุดิบภายในประเทศและเทคโนโลยีการผลิตไม่ซับซ้อน
3. มีศักยภาพด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย
1. โรงงานอุตวาหกรรมยางที่ต้องการทำผลิตภัณฑ์ยางชนิดใหม่
2. วิสาหกิจชุมชนที่มียางพาราเป็นวัตภุดิบ
ติดต่อ โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทร 0-2201-7160 โทรสาร 0-2201-7159
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ
29.5.51
บล็อกประสาน วท.
เขียนโดย
GMan572
ที่
10:55
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น